วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

7. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต

WebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser

Web site หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น 
www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)

HomePage หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ

Web Browser โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer

Domain Name หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่ 
www.internic.comแต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th

URL(Uniform Resouire Locator)  หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล

IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP

TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้

Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น

ISP (Internet Service Provider)   คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ASP (Application Service Provider) คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง

IDC (Internet Data Center) คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ

E-Commerce (Elertronic Commerce) คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

Download คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload

Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป

POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง

Internet Address คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น 
webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า datatan.net

IP Address คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com

Mailing List คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing List โดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน

http://forum.datatan.net/index.php?topic=414.0

6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม
          เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)
2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
    เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเตอร์เน็ต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ได้แก่
Hotmail  , YahooMail , ThaiMail และยังมี Mail ต่าง ๆ ที่ให้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือ
องค์กรต่าง ๆ
3. Search Engine  (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)           Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ     ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot     จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index)     ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ 
กับ Search Engine
4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต ) 
           Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร     พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก  IM  คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ
5.Telnet 
        เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet 
6. FTP (File Transfer Protocol) 
         คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง สามารถโอนย้ายข้อมูล เช่น 
รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ 

7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )
           WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล     และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
 

http://www.mcp.ac.th/online/internet/1_2.html

5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โยงใยกันทั่วโลก มีบริการในด้านต่างๆ มากมายไว้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ระบบเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ   ดังนี้
การอ่าน   อินเทอร์เน็ตมีบริการอ่านบทความ  ความรู้  นวนิยาย  เรื่องสั้น จากหนังสือ  วารสารและนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้  มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 
การค้นคว้าข้อมูล  มีบริการที่สามารถเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เราสามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน World Wide Web หรือ WWW เช่น เข้าไปค้นหาข้อมูลที่เป็นความรู้  ศัพท์  เรื่องที่กำลังเป็นที่นิยม   ทั้งข้อมูล ภาพและเสียง
ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์  มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อแนะนำบริษัท สินค้า   องค์การหรือหน่วยงานต่างๆ 
ส่งคำอวยพร  ในเทศกาลต่างๆ  มีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ  ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้คนที่รับข้อมูล
ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร     มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากมุมต่างๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร  เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่างๆ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่รวดเร็ว
บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ  (Software  Download)  ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft, ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ เพื่อต้องการ  Down Load  โปรแกรมเพื่อไปใช้งาน  เพื่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
การค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด  (Explore Libraries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในระบบเครือข่าย Online ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ๆ ที่มีในห้องสมุดต่างๆ 
การผ่อนคลาย   มีบริการเล่นเกม (Play Games) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการเกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมองซึ่งเกมออนไลน์ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น เกมเพื่อการศึกษา ฯลฯ  เกมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางสมองของเด็กให้เร็วขึ้น และช่วยเสริมทักษะความคิดในเรื่องเรื่องการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
การซื้อสินค้า (Shopping) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปซื้อสินค้าในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเลือกรายการสินค้าที่มีไว้บริการสั่งจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งจะซื้อขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประโยชน์ด้านความบันเทิง  มีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch TV. And Listen Music) 
การแลกเปลี่ยนข้อมูล มีบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange Message)ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ หรือ E-mailกับผู้ใช้ บริการอินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว
การสนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการสนทนาออนไลน์ (Chat) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า Chat สามารถพูดกันได้โดยตรง  เหมาะ สำหรับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว
บริการตอบคำถามให้คำปรึกษา มี web board สำหรับให้คำปรึกษา หรือตอบคำถาม โดยที่ผู้ถามและผู้ตอบไม่รู้จักกันหรือรู้จักกันก็ได้  มีผลดีที่บางข้อคำถามผู้ถามไม่กล้าถามใคร ก็จะมีผู้ให้คำตอบที่เป็นทางสว่างแก่ชีวิตได้
การเรียนทางไกล  (Distance Learning)  ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ และต่างประเทศมีการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถทำการเรียนผ่านระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบออนไลน์  โดยเข้าเรียนตามวันและเวลาที่ทำการเรียนการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ การสอนภาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์  เป็นต้น http://psuwannang.blogspot.com/2012/11/blog-post_7292.html

4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือรวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐ (ขึ้นกับกฎหมายของแต่ละประเทศ ) จึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควร ผู้ให้บริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP นั่นเอง ซึ่งแต่ละรายก็เก็บค่าบริการไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อและเงื่อนไขบริการแก่คนอื่นๆ ฯลฯหรือบางรายก็ให้บริการฟรีแก่ลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษาทำตัวเป็น ISP ให้นักศึกษาในสังกัดใช้อินเทอร์เน็ตฟรี หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีแก่ลูกค้าที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของตน เป็นต้น  
        สำหรับ ISP เองนั้นก็ต้องเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อหาช่องทางที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจของตน เช่น ISP รายย่อยในต่างจังหวัดต่อเข้ามาผ่านISP รายใหญ่ในกรุงเทพหรือ ISP ในประเทศต่อออกไปที่ ISP ใหญ่ในต่างประเทศ โดยมีการเก็บค่าบริการกันเป็นทอดๆแล้วแต่ว่าใครจะต่อกับใคร จะต่อหลายทางพร้อมๆกันเพื่อเพิ่มความเร็วและเป็นช่องทางสำรองก็ได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของ ISP ในต่างประเทศเองก็ไม่ผูกขาด เพราะมีทำกันหลายๆรายและหากมีลูกค้าผู้ใช้งานมากพอก็อาจมีผู้ลงทุนตั้ง ISP รายใหม่ วางสายและสร้างเครือข่ายเพิ่มได้อีก  
http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/chapter6/UN6_4.html

3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

    การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network )  
    ปี 2530 ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยใช้อีเมลล์ โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลีย
    ปี 2531 ถือกำเนิดTCSNet ด้วยโครงการ Australian International Development Plan (IDP) โดยมีมหาวิทยาลัย 3 สถาบันในไทยได้แก่ PSU, AIT, CU เข้าร่วม
    ปี 2534 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) ได้ติดตั้งโปรแกรม MHSNet โดยใช้ modem ความเร็ว 14.4 Kbps โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Australian Academic and Research Network (AARN) 
    ปี 2535 NECTEC  ได้สร้าง NEWgroup (NECTEC's Email Working Group) เพื่อใช้ในการรับส่ง Email กับ NECTEC เป็นผลให้เกิด Thai Social/Scientific, Academic and Research Network (ThaiSarn) โดยการรวมกันระหว่าง TCSNet และ Inter-University Network ในปีนั้นเอง เครือข่าย internet ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว MHSNet และ UUCP โดยใช้ dial-up หรือเครือข่าย X.25 ก็ถูกแทนโดย Internet Protocol (คือใช้ได้ทุก feature ของ Internet จากเดิมที่ใช้แค่ E-mail อย่างเดียว) โดยผ่านวงจรเช่า (leased lines) 
   ปี 2538 เกิดโครงการ SchoolNet โดย NECTEC, Internet สำหรับเอกชนได้ถือกำเนิดในปีนี้เช่นเดียวกัน หลังจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) และ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) ศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ก็ให้ลิขสิทธิ์ (licensed) ให้แก่ Internet Thailand ให้เป็น Internet Service Provider (ISP) รายแรก
   ปี 2539 CAT เริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน  นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ

ปี 2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก

ปี 2541 ในเดือนพฤษภาคม TH-NIX และ PIE ได้เชื่อมต่อกันด้วยความเร็ว 2 Mbps
ที่มา:http://www.aksorn.com/webguide/webguide_detail.php?content_id=348

2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 อินเทอร์เน็ต ในยุคแรกๆ เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
****ในปี พ.ศ.2512 ARPAnet ได้เปลี่ยนชื่อเป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง เช่น ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2518 จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลองเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง
****พ.ศ.2526 DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal)มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ดังนั้น TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
****พ.ศ.2529 ได้มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) ขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย โดยให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.edtechno.com จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บทั้งหมด เป็นต้น
****พ.ศ.2533 DARPA ได้ให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐาน เหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป ต่อมาอาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้โดยเรียกเครือข่ายว่าอินเทอร์เน็ตโดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาและปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก (http://www.thaiall.com)
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
****พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทยเน็ต" (THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย
****ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543)
 
http://laphatson.blogspot.com/2009/09/blog-post.html

1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกโดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และเสียง เป็นต้น" กิดานันท์ มลิทอง (2540 , 321) ได้กล่าวถึงความหมายของอินเตอร์เน็ตว่าหมายถึงระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อการเข้าถึงแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่ สมนึก คีรีโต , สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ และสมชาย นำประเสริฐชัย (2538 , 1) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า อินเตอร์เน็ตเป็นกลุ่มเครือข่ายย่อยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (โปรโตคอล) เดียวกัน ภายในอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ อาทิ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล บริการค้นหาข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ จำนวนมาก ข่าวสารในอินเตอร์เน็ตนับเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฎอยู่ นอกจากนี้ นิพันธุ์ อินทอง และอาจารี นาโค (2540, 143) ได้ให้ความหมายของอินเตอร์เน็ตในทำนองเดียวกันว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเอกชนฯ หรือเครือข่ายของหน่วยงานราชการ โดยมีปัจจัยหลักอยู่ 3 ประการคือ 1. อินเตอร์เน็ตยอมให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายหลากหลายประเภทสื่อสารกันได้ 2. ไม่มีองค์กรใดเป็นเจ้าของหรือจัดการวางระเบียบในอินเตอร์เน็ต 3. อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยจิตสำนึก ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องมีมารยาทใน การใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน มีมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลแบบเดียวกัน ภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพ   
การบริการ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกันภายในอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก 
การใช้งานในอินเตอร์เน็ต การใช้งานหรือการบริการในอินเตอร์เน็ตมีหลายประเภทด้วยกัน กิดานันท์ มลิทอง (2540 , หน้า 326 - 328) ได้กล่าวถึงการใช้งานในอินเตอร์เน็ต ดังนี้ 
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronics mail : e-mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า "อี-เมล์" เป็นการรับส่งข้อความผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ในข่ายงานเดียวกันหรือข้ามข่ายงานอื่นในอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลกในทันที นอกจากข้อความที่เป็นตัวอักษรแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพและเสียงร่วมไปด้วยได้เพื่อให้ผู้รับได้อ่านทั้งตัวอักษร ดูภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงพูดหรือเสียงเพลงประกอบด้วย 
2. การถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) file transfer protocol : FTP) เป็นการถ่ายทอดโอนแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น แฟ้มข่าว แฟ้มภาพ แฟ้มเสียงเพลง ฯลฯ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบรรจุลง (download) ไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา หรือจะเป็นการบรรจุนี้ (upload) ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราส่งไปที่เครื่องบริการแฟ้มเพื่อให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้เช่นกัน 
3. การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลกโดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มากมายหลายล้านแฟ้มบรรจุอยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีระบบหรือโปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหาแฟ้มอย่างสะดวกรวดเร็วโปรแกรมที่นิยมใช้กันโปรแกรมหนึ่ง ได้แก่ อาร์คี (archic) ที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อแต่ไม่ทราบว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใด ๆ ในอินเตอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ในฐานข้อมูล เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใดก็เพียงแต่เรียกใช้อาร์คีแล้วพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการนั้นลงไป อาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงชื่อแฟ้มพร้อมรายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นให้ทราบ เมื่อทราบชื่อเครื่องบริการแล้วก็สามารถใช้เอฟทีพีเพื่อถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลมาบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ของเราได้ 
http://www.thaigoodview.com/node/38600